วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รูปภาพและคลิปการรายงาน



ADSL

          ปัจจุบันเทคโนโลยีการเข้าถึง (Access) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รุดหน้าไปอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การพัฒนาอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการ Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยเริ่มตั้งแต่เทคโนโลยีของ Modem จาก V.90 ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลขนาด 56 Kbps ไปจนถึง ISDN ที่ให้อัตราความเร็วในการ Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต 64-128 Kbps ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการพัฒนาวิธีการ Access อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ซึ่งให้อัตราความเร็ว 140-400 Kbps
          สำหรับในประเทศไทย รูปแบบของการให้บริการ Access อินเทอร์เน็ต ได้รับพัฒนาเรื่อยมา สอดคล้องกับความร้อนแรงของการ แข่งขัน จนนำไปสู่การเสนอรูปแบบและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เร็วกว่าเดิม และดีกว่าเดิม นั่นคือ ADSL

อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL

         ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี
                  •Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
                 •G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K
                 •ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
        อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับ

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ADSL MODEM คืออะไร



(Asymmetric Digital Subscriber Line)เป็นมาตรฐานของโมเด็มเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลดทองแดง ให้เป็นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูงโดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และด้วยความเร็วขนาดนี้มากเพียงพอสำหรับงานต่าง ๆ เช่น
• งานเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video On Demand
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
ADSL มีโครงสร้างของระบบสื่อสารข้อมูลเป็นแบบไม่สมมาตร (Asymmetric)

ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่ส่งมาจาก ISP ไปยังผู้ใช้บริการจะมีความเร็วที่มากกว่า ข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากผู้ใช้บริการไปยัง ISP ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผู้ใช้งานตามบ้านส่วนใหญ่มักเป็นการ Download ข้อมูลเสียมากกว่าการ Upload ข้อมูล

การทำงาน ของ ADSL MODEM

การทำงานของ ADSL Modem จะเกิดขึ้นระหว่างชุมสายโทรศัพท์ โดยผู้ให้ บริการจะต้องติดตั้งอุปกรณ์รวมสัญญาณเรียกว่า DSLAM(DSL Access Multiplexer)ในทุก ๆ ชุมสายที่ให้บริการ ซึ่งจะทำหน้าที่รวมสัญญาณจากผู้ใช้งาน ในชุมสายโทรศัพท์นั้น ๆ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งผ่าน เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง ไปยังศูนย์กลางของผู้ให้บริการและจากนั้นผู้ให้บริการ ADSL ก็จะเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ISP หรือเครือข่ายขององค์กร อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ ADSL สามารถส่งข้อมูลไปได้พร้อม ๆ กับการใช้งานโทรศัพท์ก็คือ Pots Splitter
โดยมันจะมีหน้าที่ในการกรองสัญญาณที่มีความถี่สูงออกจากสัญญาณย่านที่มีความถี่ต่ำ โดยถูกติดตั้งอยู่ทั้งผู้ใช้งาน และที่ชุมสายโทรศัพท์ นั่นคือหากมีการใช้งานโทรศัพท์ สัญญาณโทรศัพท์จะถูกส่งผ่านสายทองแดง ไปยังชุมสายโทรศัพท์ และสัญญาณโทรศัพท์ จะถูกส่งผ่านไปยังเครือข่ายโทรศัพท์สาธารระ (PSTN : Public switch telephone network)เพื่อเชื่อมต่อไปยังเลขหมายปลายทางต่อไป ส่วนสัญญาณข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ DSLAM
การที่ ADSL สามารถส่งข้อมูลพร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ได้นั้น เนื่องจาก ADSL ใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ (Modulation) บนย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่งไป ซึ่งปกติการใช้งานโทรศัพท์จะใช้ย่านความถี่ 0 – 4 KHz และการใช้งาน 56K Analog Modem ก็ทำการเข้ารหัสสัญญาณบนย่านความถี่นี้เช่นกัน ซึ่งเป็นย่านเดียวกับการใช้งานโทรศัพท์ ทำให้เมื่อใช้งานโมเด็มจะมาสามารถใช้โทรศัพท์ได้ ในขณะที่ ADSL จะเข้ารหัสสัญญาณที่ย่านความถี่สูงกว่า 4 KHz ขึ้นไป คือตั้งแต่ 30 KHz ไปจนถึง 1.1 MHz โดย ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ 2วิธีคือ CAP และ DMT ซึ่งด้วยเทคนิคนี้เองทำให้ การรับ – ส่งข้อมูลด้วย ADSL จึงสามารถใช้โทรศัพท์ได้เป็นปกติ โดยไม่รบกวนกันแต่อย่างใด โดยมีอุปกรณ์ Pots Splitter ที่ช่วยในการแยกย่านความถี่ของข้อมูลและความถี่ในการใช้โทรศัพท์ออกจากกัน

การติดตั้ง ADSL MODEM




ปัจจุบันนี้ การสื่อสารการใช้งานอินเตอร์เน็ต ได้ขยายเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จากในอดีตนั้น จะเป็นโมเด็ม แบบ internal ที่มีความเร็วแค่ 56k คือการรับ-ส่งข้อมูลที่มีความเร็ว 56k ต่อวินาที ซึ่งในปัจจุบันนี้ถือว่าช้ามาก แต่สามารถใช้งานได้ทั่วไปที่มีการต่อจากโทรศัพท์โดยตรง โดยที่โทรศัพท์จะไม่สามารถโทรออกหรือรับสายได้เลย และถ้าเราต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว เวลามีโทรศัพท์เข้ามาสายที่เราต่ออินเตอร์เน็ตนั้นก็จะหลุด ไม่สามารถที่จะเล่นได้ ทำให้เสียเวลาในการต่ออินเตอร์เน็ตใหม่ แต่ในปัจจุบันนี้ ทางกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศได้ให้บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์ เช่น TOT TT&T ฯลฯ ได้ทำระบบที่ให้สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ และได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้นไปอีกในอนาคต และที่จะกล่าวถึงนี้ ก็คือ การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ ADSL นั่นเอง เรามาดูกันดีกว่าว่าการติดตั้งอุปกรณ์และการเซ็ต Modem ADSL ทำยังไงกันบ้าง

ขั้นตอนการติดตั้ง ADSL MODEM




1.) เริ่มต้นต่อสาย USB Port ด้านหนึ่งเข้ากับ ADSL MODEM อีกด้านต่อสายเข้ากับ USB Port คอมพิวเตอร์
2.) ถอดสายโทรศัพท์จากตัวเครื่องโทรศัพท์ ออกมา ต่อในช่อง LINE ของอุปกรณ์ที่เรียกว่า splitter (ที่มีด้านเดียว)
3.) นำสายโทรศัพท์อีกเส้นหนึ่งที่มี มาต่อเข้ากับช่อง MODEM ของกล่อง splitter และนำสายอีกด้านไปต่อเข้ากับ ADSL MODEM
4.) นำสายโทรศัพท์จากตัวเครื่องรับโทรศัพท์ มาต่อเข้ากับ เครื่องรับโทรศัพท์ ( เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั้ง ADSL MODEM และโทรศัพท์ )

** หลังจากได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้ง Driver ของ ADSL MODEM และสร้าง connection ( หมายถึงการสร้าง Dial-up เช่นเดียว กับการต่อแบบโมเด็มธรรมดา )
5.) นำแผ่น Driver CD ที่มีมาพร้อมกับ ADSL MODEM ใส่ และติดตั้ง driver ลงไป ทั้งนี้หลังจากติดตั้ง driver แล้ว ระบบจะมีการตรวจสอบสัญญาณ ADSL MODEM
6.) ถ้ามีการปล่อยสัญญาณ จากบริษัทที่เราได้รับการขอติดตั้งแล้ว ก็จะมีสัญลักษณ์ที่ Task bar ของ Windows ปรากฏอยู่ "ADSL Connected"
7.) หลังจากนั้น จะต้องมีการติดตั้ง ADSL Dial-up เพื่อสร้างหน้าต่างการ Login เข้าระบบ (เช่นเดียวกับการต่อ Modem ผ่าน Dial-up ธรรมดา) โดยทางผู้ใช้งานจะต้องขอรับ User Name และ Password จากผู้ให้บริการก่อนการติดตั้งใน ADSL Modem แต่ละยี่ห้อ จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

การใช้งาน ADSL Modem

1.) เริ่มต้นด้วยการ Dial-up เพื่อเป็นการ Log-in เข้าระบบ แต่ไม่เสียค่าโทรศัพท์น่ะครับ
2.) ใช้งานตามปกติ รวมทั้งสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ด้วย รับรองว่าเร็วขึ้นแน่นอน
3.) หลังจากเลิกใช้งานแล้ว ให้คลิกไอคอนที่บริเวณ ด้านล่างขวามือ (ใกล้รูปนาฬิกา) คลิกเลือก Disconnect

ประโยชน์จากการใช้บริการ..ADSL

- สามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันโดยไม่หยุดชะงัก
- ท่านสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ด้วยความเร็วเป็น140 เท่า เมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะถูกเปิดอยู่เสมอ เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ Fax ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
- ไม่มีปัญหาจากสายไม่ว่างไม่ต้อง Connect ให้ยุ่งยาก
- ADSL ต่างจาก Cable Modem ตรงที่ ADSL จะมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ขณะ ที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับคนอื่น
- Bandwidth จะมีขนาดคงที่ ขณะที่ Cable Modem จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน
- สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใครด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL